Wellcom to My Blogger E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood By ubon suksoie NO. 31

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16


วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2556
เวลา8.30-12.20 น.

-ได้มีการนำของเล่นเข้ามุมทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ มาจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน (แสง แม่เหล็ก แรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ เสียง )
-ในการทำของเล่นเข้ามุมต้องมีการบอกว่าเด็กเล่นแล้วจะได้อะไร มีหลักการหรือแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายให้เด็กเข้าใจง่าย แล้วสามารถจับคอบเซปได้ว่าเป็นเรื่องอะไร


********************************************
ค้นคว้าเพิ่มเติม


สารคดีเด็ก (๑) พระอาทิตย์แสนดี



เราทุกคนต่างมีพ่อมีแม่
สัตว์ทุกตัว ต้นไม้ทุกต้น
ต่างก็มีพ่อ มีแม่เหมือนกับเรา
พ่อแม่ คือผู้ที่ทำให้เราเกิดมา
ท่านเลี้ยงดูเรา ให้ความอบอุ่นแก่เรา
แม้แต่โลกที่เราอยู่อาศัยก็มีพ่อแม่
พ่อแม่ของโลกคือ พระอาทิตย์
ทุกทุกเช้า...
พระอาทิตย์จะนำความร้อนและแสงสว่างมาปลุกโลก
ปลุกต้นไม้ให้คลี่ใบบานออกรับแสง
ปลุกฝูงนกกาให้บินออกจากรังไปหากิน
คนและสัตว์ต่างก็พากันตื่นจากหลับ

ทุกชีวิตบนโลกต่างต้องพึ่งพาแสงอาทิตย์
หรือแสงแดดเพื่อการมีชีวิตอยู่ทั้งนั้น
ต้นไม้ต้องการแสงแดดในการสร้างอาหารเลี้ยงตัวเองให้เจริญเติบโต
ก่อนที่จะถูกสัตว์กินพืชกัดกินเป็นอาหารอีกที
แล้วสัตว์กินพืชก็กลายเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อและคนเราอีกต่อหนึ่ง
น้ำเค็มในทะเลและมหาสมุทร
ก็ต้องการความร้อนจากดวงอาทิตย์
เพื่อทำให้ตัวเองกลายเป็นน้ำจืด
ทุกทุกวัน แสงอาทิตย์จะทำให้น้ำตามที่ต่างต่างระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปบนฟ้า
แล้วจับกลุ่มรวมกันเป็นก้อนเมฆ
ก่อนที่จะตกลงมาเป็นฝน
เป็นน้ำจืดให้คน สัตว์ ต้นไม้ ได้กินได้ใช้
พระอาทิตย์มีชื่อเรียกหลายชื่อ
บางทีเรียกว่า ดวงอาทิตย์
บางทีก็เรียกว่า ตะวัน
ซึ่งมาจากคำเดิมว่า ตา – วัน
เราเห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางขอบฟ้าด้านหนึ่ง

และตกอีกด้านหนึ่ง ตรงที่เดิมทุกวัน
เราจึงเรียกขอบฟ้าด้านที่พระอาทิตย์โผล่ออกมาว่า ทิศตะวันออก
และเรียกขอบฟ้าด้านที่พระอาทิตย์ตกว่า ทิศตะวันตก
ความจริงแล้ว พระอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นหรือตก
เพียงแต่ลอยอยู่เฉยเฉย
โลกของเราต่างหากที่หมุนไป
รอบรอบตัวเองทุกวัน
ทำให้ตาเราเห็นเป็นว่า พระอาทิตย์เคลื่อนที่ไป
และทำให้เกิดกลางวัน – กลางคืน

ใครที่มีลูกโลกจำลองอยู่ที่บ้าน
ก็ลองเอาไฟฉายมาส่องดูนิ่งนิ่ง
สมมติให้แสงไฟฉายคือ ดวงอาทิตย์
จะเห็นว่า ลูกโลกสว่างเพียงด้านเดียว
คล้ายกับ กลางวัน
ส่วนอีกด้านจะมืด
คล้ายกับกลางคืน
ทีนี้ ลองหมุนลูกโลกไปช้าช้า
ส่วนที่ถูกแสงสว่างก็จะเปลี่ยนไป
ส่วนที่เป็นกลางวันและกลางคืนก็เปลี่ยนไปด้วย
ตัวเราที่อยู่บนโลก
จึงเห็นเหมือนกับว่า พระอาทิตย์ขึ้นหรือตก

ตอนเช้าตรู่และตอนเย็นใกล้ค่ำ
เป็นเวลาที่เรามองพระอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้
แต่ตอนสาย ตอนเที่ยง ตอนบ่าย
เราจะมองดูพระอาทิตย์ไม่ได้เลย
เพราะที่จริง พระอาทิตย์คือลูกไฟดวงใหญ่
ที่ร้อนจัดมาก และยังใหญ่โตกว่าโลกมากมาย
สมมติว่า โลกเรามีขนาดเท่าลูกปิงปอง
พระอาทิตย์จะใหญ่กว่าลูกแตงโมเสียอีก

แต่พระอาทิตย์ก็อยู่ห่างไกลจากโลกมากเหลือเกิน
ความร้อนและแสงสว่างที่ส่องมายังโลก
จึงเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กน้อยเท่านั้น
อีกทั้งโลกของเรา ยังมีชั้นอากาศหนาหนา
เรียกว่า บรรยากาศ
เหมือนผ้าม่านผืนใหญ่ คอยห่อหุ้มโลกอยู่
โลกของเราจึงยังคงอบอุ่นสบาย
ผ้าม่านอากาศผืนใหญ่ที่เรียกว่า บรรยากาศ นี้
อาจบางลงได้ ถ้าเราไม่ช่วยกันรักษา
ลองคิดดูสิว่า ถ้าผ้าม่านอากาศผืนนี้บางลง
อะไรจะเกิดขึ้นกับโลกที่เราอยู่อาศัย...

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

-อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาปฏิบัติสาธิตการทำต้มจืด(บทบามสมมติ มีคุณครูผู้สอนและให้นักศึกษาที่เหลือเป็นนักเรียน)


โดยมีกระบวนการสอนดังนี้

1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา(เด็กตอบ)พอเด็กตอบก็มีการวางเรียงของจากซ้ายไปขวาใหม่(ได้เรื่องคณิตศาสตร์)

2.เด็กๆเก่งมากเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง(เด็กตอบ)

3. วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ(เด็กตอบ)

4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ

5.ขณะที่รอ น้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมัน อันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้

6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป  ตอนนี้หมูเป็นสีอะไรอยู่คะ(ได้ทักษะการสังเกต) เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ

7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร(ได้สังเกต)

8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก

9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาติช่วยคุณครูบ้างคะ

10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?



ภาพอุปกรณ์ในการทำแกงจืด

ภาพกิจกรรมการทำแกงจืดในห้องเรียน





วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

-วันนี้อาจารย์ตฤณ สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง การทำอาหาร (Cooking) และอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อช่วยกันเขียนแผน

แผนการจัดประสบการณ์เรื่อง การทำอาหาร (Cooking)


ภาพการทำงานในกลุ่ม


ภาพการนำเสนอแผนของแต่ละกลุ่ม




วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556
-อาจารย์บอกรายละเอียดและองค์ประกอบที่ต้องทำลงไปในบล็อกและอาจารย์ให้เขียนชื่ออาจารย์ตฤณ แจ่มถิน ลงในบล็อกด้วย
 

 
ภาพการนำเสนอของเล่นเข้ามุม
-เก็บตกงานที่ยังไม่นำเสนอ
1. กระป๋องผิวปาก สอนในเรื่องของเสียงจากลม
2. กระดาษร้องเพลง สอนในเรื่องของเสียงจากลม
3. กรวยลูกโป่ง สอนในเรื่องของแรงดัน
4. กระป๋องบูมเมอแรง สอนในเรื่องพลังงานกล
5.ภาพลวงตา สอนในเรื่อง การมองภาพที่มีมิติ
6.ตุ๊กตาล้มลุก สอนในเรื่อง การถ่วงน้ำหนัก
7. กิ้งก่าไต่เชือก สอนในเรื่องแรงเสียดทาน
 
ภาพของเล่นวิทยาศาสตร์
-นำเสนอการทดลอง1. กาลักน้ำ -โมเลกุลแรงดันของเหลวไหลจากที่สูกลงมาที่ต่ำ2. ตะเกียบยกขวด -ที่เรายกขวดได้เพราะมีแรงดันภายในขวดจึงทำให้เรายกขวดข้าวด้วยตะเกียบได้ที่เรายกได้
           1 ยกไม่ได้เพราะข้าวในขวดมันหลวมจึงทำให้ยกขวดไม่ได้
           2 ที่ยกได้เพราะมีการกดข้าวให้แน่นในขวดจึงมีความหนาแน่นและทำให้ยกขวดได้
3. ดอกไม้บาน -เพราะกระดาษมีการดูดซึมน้ำจึงทำให้กระดาษดอกไม้บาน


ภาพการทดลอง

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 13

วันจันทร์ที่ 9 กันยายน 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากอาจารย์ไปสัมมนาที่จังหวัดสระบุรี

***หมายเหตุ มีเรียนชดเชยในวันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556 เวลา 8.30 น.

*****ค้นคว้าเพิ่มเติม******
แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์ & เทคนิคพ่อแม่          
           เด็ก ปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติ ปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ



วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 12

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

-นำเสนอของเล่นมุมวิทยาศาสตร์ 





กล่มของข้าพเจ้านำเสนอ สวนสัตว์ไต่เชือก

ของเล่นมุมวิทยาศาสตร์ : สวนสัตว์ไต่เชือก
สิ่งที่ต้องเตรียม
1.กล่องลัง
2.กระดาษร้อยปอนด์

3.สีไม้
4.หลอด
5.กรรไกร
6.พลาสติกเคลือบใส
ขั้นตอนการทำ
1.นำกล่องลังตัดตรงกลางออกและห่อด้วยกระดาษสีดำ

2.นำกระดาษร้อยปอนด์มาวาดรูปสัตว์แล้วตัดตามรูปที่วาด หลังจากนั้นนำพลาสติกใสมาเคลือบ เพื่อความสวยงาม
3.นำหลอดมาติดไว้หลังสัตว์ แล้วเอาเหรียญสลึง เพื่อถ่วงน้ำหนักตัวสัตว์

4.นำกล่องมาเจาะรู้ด้านข้างเพื่อใส่ตัวสัตว์เข้าไป
5.นำกระดาษสีและของตกแต่งมาตกแต่งกล่องให้สวยงาม 
6.นำสัตว์มารอ้ยเชือกและร้อยเข้าไปในกล่อง
7.หลังจากนั้นลองทดสอบดูว่าสามารถเคลื่อนที่ได้หรือไม่
8.นำชื่อของเล่นและหลักการมาติดไว้ข้างหลังกล่ิอง 

9.ผลงานที่เสร็จสมบูรณ์

ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
ขั้นนำ
ขั้นที่ 1 กำหนดปัญหา
       แนะนำกิจกรรม โดยถามคำถามปลายเปิดเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้คิด เช่น เด็กๆเห็นอะไรบนโต๊ะครูคะ เด็กๆคิดว่าครูจะนำมาทำอะไรคะ
ขั้นที่ 2 สมมติฐาน
       เด็กๆคาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ของปัญหา เช่น เมื่อครูดึงเชือกจะเกิดอะไรขึ้นคะ

ขั้นสอน
ขั้นที่ 3 เก็บรวบรวมข้อมูล
      - ให้เด็กๆทดลองโดยลองมาดึงเชือก
      - เด็กๆลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
      - เด้กๆสังเกตและเก็บข้อมูลที่ได้เห็น
     - ครูคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ
ขั้นที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูล
       ครุถามคำถามเพื่อกระตุ่นให้เด็กได้คิดหาเหตุผลจากของเล่นเข้ามุมวิทยาศาตร์ ดังนี้
1.เมื่อดึงเชือกลสับไปมา เด็กๆคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้น สัตว์จะเคลื่อนที่ได้หรือไม่
2.เวลาดึงเชือก เมื่อเด็กๆกางเชือกออก เด็กๆคิดว่าสัตว์จะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าหรือไปข้างหลัง

ขั้นสรุป
ขั้นที่ 5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป
       หลักการ: ไต่ขึ้นไต่ลง             เมื่อเราดึงเชือทั้ง 2ข้าง จะทำให้เกิดการเสียดสีในหลอดดูดและเกิดแรงเสียดทาน ระหว่างวัตถุ ซึ่งทำให้วัตถุ 2 ชนิดหยุดการเคลื่อนที่ผ่านกันและกัน เมื่อเราปล่อยเชือกเชือกก้จะไม่กดทับหลอดดูด ทำให้แรงเสียดทานน้อยลง


ภาพบรรยากาศการทำงานและการนำเสนอผลงาน