Wellcom to My Blogger E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood By ubon suksoie NO. 31

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เพลงวิทยาศาสตร์

เพลงฉันคือเมฆ
 

เพลง พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง

 

เพลง รุ้งเจ็ดสี


เพลง ฟ้าแลบฟ้าร้อง

 

เพลง เมฆฝน

 
 เพลง ไอน้ำ


 

สามารถดาวน์เพลงได้ที่ https://sites.google.com/site/plamgam/phelng-sahrab-dek/phelng-xnubal-phraxathity-yim-cheng

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ของ ศศิพรรณ สำแดงเดช ปี 2553

 
ภาพภาคผนวก



สรุปองค์ความรู้จาก thai teacher tv

เรื่อง  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม รร.ราชวินิต ประถม




สรุปเนื้อหาจากการดูทีวีครู

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้รักและสนใจในวิทยาศาสตร์เริ่มจากลักษณะเฉพาะตัวของเด็กและเป็นวัยที่
-อยากเก่ง ซึ่งอยากเก่งในที่นี้ก็คืออยากเป็นคนเก่ง อยากให้เพื่อนยอมรับ ก็ถ้ามีตัวอย่างก็จะเลียนแบบได้ง่าย
-อยากโต ความคิดเป็นผู้ใหญ่แต่เรื่องสรีระยังไม่ได้ เด็กก็ยังอยากจะทำให้ได้แบบผู้ใหญ่แต่ก็ยังทำไม่ได้
-อยากโชว์ ความกะตือรือร้น ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน อยากรู้อยากเห็น สังเกตจากทำกิจกรรมทดลองอะไรก็จะจ้องตลอด แล้วก็พยายามพัฒนาตัวเองขึ้นมา อยากจะโชว์ให้เพื่อนยอมรับ
-อยากช่วย อยากช่วยทำทุกสิ่งทุกอย่าง "ครูครับวันนี้มีอะไรให้ผมช่วยครับ" ก็อยากจะช่วยคือมีจิตสาธารณะ
    การสอนวิทยาศาสตร์ถ้าเราปลุกฝังให้เขาชอบ พอโตขึ้นไปเรื่อยๆก็จะชอบ จะรู้สึกว่าการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุก
หลักการสอน สอนให้สนุก น่าสนใจ ไม่ไกลตัว เน้นการทดลองเพราะเดี๋ยวความรู้ก็จะเกิดเอง การที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำจะทำให้จดจำ ไม่รู้ลืม
หน่วยการสอนเรื่องเสียง
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"
    เสียง เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศ ทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทาให้เกิดได้ยินเสียง
     แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียง สั่นด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทาให้ได้ยินเสียงดังมากกว่า เสียงที่มีพลังงานน้อย
เสียงเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ
    เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล
คำถามที่ครูใช้ถามเด็ก
1.เสียงเกิดจากอะไร
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร

1.ครู และนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจ ให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร
2.ครู สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลeคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลeคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้า แล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน)
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย )
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็น เสียงดนตรี
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.คำถามชวนคิด 2.ขวดถั่วเขียว 3.เกลือ 4 .ยางรัดของ 5.ตะปู 6.ส้อมเสียง 7.ขวดใส่น้า
8.แก้วทรงสูง 9. อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 10.โทรศัพท์กระป๋อง 11.แบบฝึกหัด 

วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 16


วันจันทร์ที่ 30 กันยายน 2556
เวลา8.30-12.20 น.

-ได้มีการนำของเล่นเข้ามุมทั้งหมดที่นักศึกษาทุกคนได้ทำ มาจัดเป็นหมวดหมู่เดียวกัน (แสง แม่เหล็ก แรงเสียดทาน การเปลี่ยนแปลง พื้นที่ เสียง )
-ในการทำของเล่นเข้ามุมต้องมีการบอกว่าเด็กเล่นแล้วจะได้อะไร มีหลักการหรือแนวคิดอย่างไรเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ที่อธิบายให้เด็กเข้าใจง่าย แล้วสามารถจับคอบเซปได้ว่าเป็นเรื่องอะไร


********************************************
ค้นคว้าเพิ่มเติม


สารคดีเด็ก (๑) พระอาทิตย์แสนดี



เราทุกคนต่างมีพ่อมีแม่
สัตว์ทุกตัว ต้นไม้ทุกต้น
ต่างก็มีพ่อ มีแม่เหมือนกับเรา
พ่อแม่ คือผู้ที่ทำให้เราเกิดมา
ท่านเลี้ยงดูเรา ให้ความอบอุ่นแก่เรา
แม้แต่โลกที่เราอยู่อาศัยก็มีพ่อแม่
พ่อแม่ของโลกคือ พระอาทิตย์
ทุกทุกเช้า...
พระอาทิตย์จะนำความร้อนและแสงสว่างมาปลุกโลก
ปลุกต้นไม้ให้คลี่ใบบานออกรับแสง
ปลุกฝูงนกกาให้บินออกจากรังไปหากิน
คนและสัตว์ต่างก็พากันตื่นจากหลับ

ทุกชีวิตบนโลกต่างต้องพึ่งพาแสงอาทิตย์
หรือแสงแดดเพื่อการมีชีวิตอยู่ทั้งนั้น
ต้นไม้ต้องการแสงแดดในการสร้างอาหารเลี้ยงตัวเองให้เจริญเติบโต
ก่อนที่จะถูกสัตว์กินพืชกัดกินเป็นอาหารอีกที
แล้วสัตว์กินพืชก็กลายเป็นอาหารของสัตว์กินเนื้อและคนเราอีกต่อหนึ่ง
น้ำเค็มในทะเลและมหาสมุทร
ก็ต้องการความร้อนจากดวงอาทิตย์
เพื่อทำให้ตัวเองกลายเป็นน้ำจืด
ทุกทุกวัน แสงอาทิตย์จะทำให้น้ำตามที่ต่างต่างระเหยกลายเป็นไอลอยขึ้นไปบนฟ้า
แล้วจับกลุ่มรวมกันเป็นก้อนเมฆ
ก่อนที่จะตกลงมาเป็นฝน
เป็นน้ำจืดให้คน สัตว์ ต้นไม้ ได้กินได้ใช้
พระอาทิตย์มีชื่อเรียกหลายชื่อ
บางทีเรียกว่า ดวงอาทิตย์
บางทีก็เรียกว่า ตะวัน
ซึ่งมาจากคำเดิมว่า ตา – วัน
เราเห็นพระอาทิตย์ขึ้นทางขอบฟ้าด้านหนึ่ง

และตกอีกด้านหนึ่ง ตรงที่เดิมทุกวัน
เราจึงเรียกขอบฟ้าด้านที่พระอาทิตย์โผล่ออกมาว่า ทิศตะวันออก
และเรียกขอบฟ้าด้านที่พระอาทิตย์ตกว่า ทิศตะวันตก
ความจริงแล้ว พระอาทิตย์ไม่ได้ขึ้นหรือตก
เพียงแต่ลอยอยู่เฉยเฉย
โลกของเราต่างหากที่หมุนไป
รอบรอบตัวเองทุกวัน
ทำให้ตาเราเห็นเป็นว่า พระอาทิตย์เคลื่อนที่ไป
และทำให้เกิดกลางวัน – กลางคืน

ใครที่มีลูกโลกจำลองอยู่ที่บ้าน
ก็ลองเอาไฟฉายมาส่องดูนิ่งนิ่ง
สมมติให้แสงไฟฉายคือ ดวงอาทิตย์
จะเห็นว่า ลูกโลกสว่างเพียงด้านเดียว
คล้ายกับ กลางวัน
ส่วนอีกด้านจะมืด
คล้ายกับกลางคืน
ทีนี้ ลองหมุนลูกโลกไปช้าช้า
ส่วนที่ถูกแสงสว่างก็จะเปลี่ยนไป
ส่วนที่เป็นกลางวันและกลางคืนก็เปลี่ยนไปด้วย
ตัวเราที่อยู่บนโลก
จึงเห็นเหมือนกับว่า พระอาทิตย์ขึ้นหรือตก

ตอนเช้าตรู่และตอนเย็นใกล้ค่ำ
เป็นเวลาที่เรามองพระอาทิตย์ด้วยตาเปล่าได้
แต่ตอนสาย ตอนเที่ยง ตอนบ่าย
เราจะมองดูพระอาทิตย์ไม่ได้เลย
เพราะที่จริง พระอาทิตย์คือลูกไฟดวงใหญ่
ที่ร้อนจัดมาก และยังใหญ่โตกว่าโลกมากมาย
สมมติว่า โลกเรามีขนาดเท่าลูกปิงปอง
พระอาทิตย์จะใหญ่กว่าลูกแตงโมเสียอีก

แต่พระอาทิตย์ก็อยู่ห่างไกลจากโลกมากเหลือเกิน
ความร้อนและแสงสว่างที่ส่องมายังโลก
จึงเป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็กน้อยเท่านั้น
อีกทั้งโลกของเรา ยังมีชั้นอากาศหนาหนา
เรียกว่า บรรยากาศ
เหมือนผ้าม่านผืนใหญ่ คอยห่อหุ้มโลกอยู่
โลกของเราจึงยังคงอบอุ่นสบาย
ผ้าม่านอากาศผืนใหญ่ที่เรียกว่า บรรยากาศ นี้
อาจบางลงได้ ถ้าเราไม่ช่วยกันรักษา
ลองคิดดูสิว่า ถ้าผ้าม่านอากาศผืนนี้บางลง
อะไรจะเกิดขึ้นกับโลกที่เราอยู่อาศัย...

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 15

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

-อาจารย์ตฤณให้นักศึกษาปฏิบัติสาธิตการทำต้มจืด(บทบามสมมติ มีคุณครูผู้สอนและให้นักศึกษาที่เหลือเป็นนักเรียน)


โดยมีกระบวนการสอนดังนี้

1.สวัสดีค่ะเด็กๆ เด็กๆเห็นอะไรบ้างคะที่คุณครูเตรียมมา(เด็กตอบ)พอเด็กตอบก็มีการวางเรียงของจากซ้ายไปขวาใหม่(ได้เรื่องคณิตศาสตร์)

2.เด็กๆเก่งมากเลย ลองทายดูซิว่าของเหล่านี้สามารถเอามาทำอะไรได้บ้าง(เด็กตอบ)

3. วันนี้คุณครูจะพาเด็กๆทำแกงจืด..ไหนใครเคยช่วยผู้ปกครองทำอาหารบ้างคะ(เด็กตอบ)

4.เรามาเริ่มต้นกันเลย ขั้นตอนแรกต้องเทน้ำซุปใส่หม้อต้ม เด็กๆคนไหนอยากลงมือทำบ้างคะ ออกมาเลยค่ะ

5.ขณะที่รอ น้ำเดือนคุณครูก็นำเต้าหู้มาหั่นรอ แต่ถามเด็กๆก่อนว่าคืออะไร แล้วบอกว่าถ้าเด็กๆจะหั่นเต้าหู้เด็กๆควรให้ผู้ปกครองช่วยหั่นเพราะมัน อันตรายและอาจเกิดอุบัติเหตุได้

6.เมื่อน้ำเดือนก็ใส่หมูลงไป  ตอนนี้หมูเป็นสีอะไรอยู่คะ(ได้ทักษะการสังเกต) เด็กๆคนไหนอยากจะช่วยคุณครูใส่หมูลงไปบ้างคะ

7.รอหมูสุกคุณครูก็พาเด็กๆร้องเพลง เมื่อหมูสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงว่า หมูเปลี่ยนแปลงอย่างไร(ได้สังเกต)

8.เมื่อหมูสุกแล้วก็ใส่ผัก เด็กๆคนไหนอยากช่วยคุณครูบ้างคะ เมื่อผักสุกก็ถามความเปลี่ยนแปลงของผัก

9.ต่อไปเป็นการปรุงรส เด็กๆคนไหนอยากจะปรุงรสชาติช่วยคุณครูบ้างคะ

10.เสร็จแล้วตักใส่ถ้วย เด็กๆคนไหนอยากจะตักใส่ถ้วยบ้างคะ?



ภาพอุปกรณ์ในการทำแกงจืด

ภาพกิจกรรมการทำแกงจืดในห้องเรียน





วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 14

วันจันทร์ที่ 16 กันยายน 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

-วันนี้อาจารย์ตฤณ สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เรื่อง การทำอาหาร (Cooking) และอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่ม เพื่อช่วยกันเขียนแผน

แผนการจัดประสบการณ์เรื่อง การทำอาหาร (Cooking)


ภาพการทำงานในกลุ่ม


ภาพการนำเสนอแผนของแต่ละกลุ่ม




วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย

วันอาทิตย์ที่ 15 กันยายน 2556
-อาจารย์บอกรายละเอียดและองค์ประกอบที่ต้องทำลงไปในบล็อกและอาจารย์ให้เขียนชื่ออาจารย์ตฤณ แจ่มถิน ลงในบล็อกด้วย
 

 
ภาพการนำเสนอของเล่นเข้ามุม
-เก็บตกงานที่ยังไม่นำเสนอ
1. กระป๋องผิวปาก สอนในเรื่องของเสียงจากลม
2. กระดาษร้องเพลง สอนในเรื่องของเสียงจากลม
3. กรวยลูกโป่ง สอนในเรื่องของแรงดัน
4. กระป๋องบูมเมอแรง สอนในเรื่องพลังงานกล
5.ภาพลวงตา สอนในเรื่อง การมองภาพที่มีมิติ
6.ตุ๊กตาล้มลุก สอนในเรื่อง การถ่วงน้ำหนัก
7. กิ้งก่าไต่เชือก สอนในเรื่องแรงเสียดทาน
 
ภาพของเล่นวิทยาศาสตร์
-นำเสนอการทดลอง1. กาลักน้ำ -โมเลกุลแรงดันของเหลวไหลจากที่สูกลงมาที่ต่ำ2. ตะเกียบยกขวด -ที่เรายกขวดได้เพราะมีแรงดันภายในขวดจึงทำให้เรายกขวดข้าวด้วยตะเกียบได้ที่เรายกได้
           1 ยกไม่ได้เพราะข้าวในขวดมันหลวมจึงทำให้ยกขวดไม่ได้
           2 ที่ยกได้เพราะมีการกดข้าวให้แน่นในขวดจึงมีความหนาแน่นและทำให้ยกขวดได้
3. ดอกไม้บาน -เพราะกระดาษมีการดูดซึมน้ำจึงทำให้กระดาษดอกไม้บาน


ภาพการทดลอง