Wellcom to My Blogger E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood By ubon suksoie NO. 31

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

เพลงวิทยาศาสตร์

เพลงฉันคือเมฆ
 

เพลง พระอาทิตย์ยิ้มแฉ่ง

 

เพลง รุ้งเจ็ดสี


เพลง ฟ้าแลบฟ้าร้อง

 

เพลง เมฆฝน

 
 เพลง ไอน้ำ


 

สามารถดาวน์เพลงได้ที่ https://sites.google.com/site/plamgam/phelng-sahrab-dek/phelng-xnubal-phraxathity-yim-cheng

วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปงานวิจัย

วิจัยเรื่อง ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ของ ศศิพรรณ สำแดงเดช ปี 2553

 
ภาพภาคผนวก



สรุปองค์ความรู้จาก thai teacher tv

เรื่อง  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย อ.เฉลิมชัย วัดเข้าหลาม รร.ราชวินิต ประถม




สรุปเนื้อหาจากการดูทีวีครู

ปัจจัยที่ส่งเสริมให้รักและสนใจในวิทยาศาสตร์เริ่มจากลักษณะเฉพาะตัวของเด็กและเป็นวัยที่
-อยากเก่ง ซึ่งอยากเก่งในที่นี้ก็คืออยากเป็นคนเก่ง อยากให้เพื่อนยอมรับ ก็ถ้ามีตัวอย่างก็จะเลียนแบบได้ง่าย
-อยากโต ความคิดเป็นผู้ใหญ่แต่เรื่องสรีระยังไม่ได้ เด็กก็ยังอยากจะทำให้ได้แบบผู้ใหญ่แต่ก็ยังทำไม่ได้
-อยากโชว์ ความกะตือรือร้น ความใฝ่รู้ใฝ่เรียน อยากรู้อยากเห็น สังเกตจากทำกิจกรรมทดลองอะไรก็จะจ้องตลอด แล้วก็พยายามพัฒนาตัวเองขึ้นมา อยากจะโชว์ให้เพื่อนยอมรับ
-อยากช่วย อยากช่วยทำทุกสิ่งทุกอย่าง "ครูครับวันนี้มีอะไรให้ผมช่วยครับ" ก็อยากจะช่วยคือมีจิตสาธารณะ
    การสอนวิทยาศาสตร์ถ้าเราปลุกฝังให้เขาชอบ พอโตขึ้นไปเรื่อยๆก็จะชอบ จะรู้สึกว่าการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องที่สนุก
หลักการสอน สอนให้สนุก น่าสนใจ ไม่ไกลตัว เน้นการทดลองเพราะเดี๋ยวความรู้ก็จะเกิดเอง การที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำจะทำให้จดจำ ไม่รู้ลืม
หน่วยการสอนเรื่องเสียง
ชื่อหน่วยการเรียนรู้ "เสียงมาจากไหน"
    เสียง เกิดจากการสั่นของแหล่งกำเนิดเสียงและเคลื่อนที่จากแหล่งกำเนิดเสียงทุกทิศ ทุกทางโดยอาศัยตัวกลาง พลังงานจากการสั่นไปยังเยื่อแก้วหู และส่งสัญญาณไปยังสมอง ทาให้เกิดได้ยินเสียง
     แหล่งกำเนิดเสียงที่สั่นด้วยความถี่ต่ำจะทำให้เกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม แต่ถ้าแหล่งกำเนิดเสียง สั่นด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูงหรือเสียงแหลม มนุษย์จะได้ยินเสียงที่มีความถี่ระหว่าง 20 – 20,000 เฮิรตซ์ เสียงดนตรีมีระดับเสียงสูงต่าแตกต่างกัน ถ้าเสียงความถี่หนึ่ง ๆ มาถึงหูมีพลังงานมากจะทาให้ได้ยินเสียงดังมากกว่า เสียงที่มีพลังงานน้อย
เสียงเป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสั่นจากวัตถุที่เป็นแหล่งกำเนิดเสียงโดยอาศัยตัวกลาง ซึ่งได้แก่ ของแข็ง ของเหลว และอากาศ
    เกิดจากการสั่นของวัตถุด้วยความถี่สูง จะเกิดเสียงสูง หรือเสียงแหลม ถ้าเกิดสั่นของวัตถุด้วยความถี่ต่า จะเกิดเสียงต่ำหรือเสียงทุ้ม ความถี่มีหน่วยเป็นเฮิรตซ์ ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานมาก เสียงจะดังมาก ถ้าวัตถุสั่นด้วยพลังงานน้อย จะเกิดเสียงค่อย ความดังมีหน่วยเป็นเดซิเบล
คำถามที่ครูใช้ถามเด็ก
1.เสียงเกิดจากอะไร
2.ตัวกลางเสียงได้แก่อะไรบ้าง
3.เสียงสูงเสียงต่ำเกิดจากอะไร
4.เสียงดังเสียงค่อยเกิดจากอะไร

1.ครู และนักเรียนแสดงการทดลองวิทยาศาสตร์ (science show )เรื่องเสียง.เช่นเสียงคลื่นจากเมล็ดถั่วเขียว. เสียงการสั่นของแม่เหล็ก..เสียงดนตรีจากกระป๋องน้าอัดลมเพื่อเร้าความสนใจ ให้กับนักเรียน จากนั้นให้นักเรียนตอบคาถามว่าเป็นเสียงอะไร ครูทดลองเสียงหลายๆแบบ จากนั้นครูเป่าแตรกระป๋องให้เกิดเสียง ให้นักเรียนซักถามแตรกรกระป๋องเกิดเสียงได้อย่างไร
2.ครู สนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียง ว่าถ้าไม่ได้ยินเสียงจะเกิดอะไรขึ้น โดยใช้คาถาม จากคาถามสร้างพลังความคิด และคาถามประจาหน่วยการเรียนรู้ให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น
3.ครูให้นักเรียนเอามือจับลeคอแล้วให้นักเรียนพูด เกิดอะไรขึ้นที่ลeคอ จากนั้นให้นักเรียน 1 คนออกมาทดลองหน้าห้องโดยโรยเกลือลงบนแผ่นพลาสติกที่มัดให้ตึงกับตะกร้า แล้วตะโกนลงบนแผ่นพลาสติกว่าเกิดอะไรขึ้นกับเม็ดเกลือ ( เม็ดเกลือสั่น ) แล้วเกิดเสียง หรือให้นักเรียนใช้มือถูกับขอบแก้วทรงสูง จะเกิดอะไรขึ้น
4. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับเสียงเดินทางอย่างไร (เสียงผ่านตัวกลาง) เช่นครูพูดกับนักเรียน นักเรียนได้ยินเสียง เสียงเดินทางผ่านตัวกลางอะไร จากนั้นครูให้นักเรียน 2 คน ออกมาพูดโทรศัพท์กระป๋องโดยใช้สายโทรศัพท์เส้นเชือก เส้นเอ็น เส้นลวด แล้วฟังเสียง ที่เดินทางมายังหูได้ยินชัดหรือไม่ ครูซักถามว่าเสียงเดินทางอย่างไร ให้นักเรียนในห้องแสดงความคิดเห็น ( ถ้านักเรียนสนใจอยากทดลองนอกห้องก็ให้ทดลองนอกห้องเรียน)
5.ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มดีดสายยางรัดของที่ตึงกับตะปู เคาะส้อมเสียงแล้วฟังเสียง เกิดเสียงอย่างไร การเคาะขวดที่มีน้า และเคาะขวดที่ไม่มีน้า ครูอธิบายเพิ่มเติมการสั่นเร็วสั่นสั่นช้าของวัตถุ ว่าเกิดเสียงอย่างไร ( เกิดเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย )
6.ให้นักเรียนสร้างสรรค์เสียงจากกระป๋อง โดยครูอธิบายวิธีการทำแตรกระป๋อง จากนั้นให้นักเรียนทุกกลุ่มสร้างแตรกระป๋องที่นักเรียนเตรียมมา เมื่อทำแตรกระป๋องเสร็จให้ออกมาเป่าเป็นเสียงต่างๆ ให้เพื่อนจินตนาการและทายว่าเป็นเสียงอะไร ครูส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์โดยให้ตัวแทนนักเรียนออกมาเป่าแตรกระป๋องเป็น เสียงดนตรี
7.ครูซักถามนักเรียนประโยชน์ที่ได้จากการนำกระป๋องมาทำเป็นเสียงดนตรี ว่าให้ประโยชน์อย่างไร แล้วให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดการออกแบบโครงงานการทำโทรศัพท์กระป๋อง
8.ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปเกี่ยวกับเรื่องเสียง การเกิดเสียง ตัวกลางเสียง และเสียงสูงต่า เสียงดังเสียงค่อย จากนั้นให้นักเรียนไปทำสิ่งประดิษฐ์ที่ทำให้เกิดเสียง แล้วส่งในชั่วโมงต่อไป
สื่อและแหล่งเรียนรู้
1.คำถามชวนคิด 2.ขวดถั่วเขียว 3.เกลือ 4 .ยางรัดของ 5.ตะปู 6.ส้อมเสียง 7.ขวดใส่น้า
8.แก้วทรงสูง 9. อุปกรณ์การทาแตรกระป๋อง 10.โทรศัพท์กระป๋อง 11.แบบฝึกหัด