Wellcom to My Blogger E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood By ubon suksoie NO. 31

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย

วันเสาร์ที่ 17 สิงหาคม 2556

-นำเสนอของเล่นวิทยาศาตร์




**งานที่ได้รับมอบหมายคือ การนำกล่องมาประดิษฐ์เป็นของเล่นวิทยาศาสตร์ที่เอาไว้สำหรับเข้ามุม 
 ---------------------------------------------------------------------
-ของเล่นวิทยาศาตร์(เหวียงมหาสนุก)
วัสดุ/อุปกรณ์
1.กระดาษ
2.ลูกกลมๆหรือกระดิ่ง
3.ของตกแต่ง

วิธีการทำ 
1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลียมจัตุรัส
2.แล้วพับกระดาษเป็รูปสามเหลี่ยม
3.พับมุมสามเหลี่ยมเข้ามาด้านนึง
4.พับมุมสามเหลี่ยมอีกด้านเข้ามา
5.พับมุมสามเหลียมด้านบนลงมา1ด้าน
6.พับมุมสามเหลียมด้านบนอีกด้านลงมา
7.ติดเชือกแล้วลูกกลมๆ แล้วตกแต่งให้สวยงาม

 วิธีการเล่น
         เหวี่ยงยังไงก็ได้ให้ลูกกลมๆเข้าไปอยู่ตรงกลาง


หลักการวิทยาศาสตร์
               แรง (force) หมายถึง สิ่งที่สามารถทำให้วัตถุที่อยู่นิ่งเคลื่อนที่หรือทำให้วัตถุที่กำลังเคลื่อนที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นหรือช้าลง หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่ของวัตถุได้
           ปริมาณทางฟิสิกส์ มี 2 ชนิด คือ
           1. ปริมาณเวกเตอร์ (vector quality) หมายถึง ปริมาณที่มีทั้งขนาดและทิศทาง เช่น แรง ความเร็ว ความเร่ง โมเมนต์ โมเมนตัม น้ำหนัก เป็นต้น
           2. ปริมาณสเกลาร์ (scalar quality) หมายถึง ปริมาณที่มีแต่ขนาดอย่างเดียว ไม่มีทิศทาง เช่น เวลา พลังงาน ความยาว  อุณหภูมิ เวลา พื้นที่ ปริมาตร อัตราเร็ว เป็นต้น
 ชนิดของแรง
       1.1 แรงย่อย คือ แรงที่เป็นส่วนประกอบของแรงลัพธ์
         1.2 แรงลัพธ์ คือ แรงรวมซึ่งเป็นผลรวมของแรงย่อย ซึ่งจะต้องเป็นการรวมกันแบบปริมาณเวกเตอร์ 
         1.3 แรงขนาน คือ แรงที่ที่มีทิศทางขนานกัน ซึ่งอาจกระทำที่จุดเดียวกันหรือต่างจุดกันก็ได้ มีอยู่ 2 ชนิด
               - แรงขนานพวกเดียวกัน หมายถึง แรงขนานที่มีทิศทางไปทางเดียวกัน
               - แรงขนานต่างพวกกัน หมายถึง แรงขนานที่มีทิศทางตรงข้ามกัน
         1.4 แรงหมุน หมายถึง แรงที่กระทำต่อวัตถุ ทำให้วัตถุเคลื่อนที่โดยหมุนรอบจุดหมุน ผลของการหมุนของ เรียกว่า โมเมนต์ เช่น การปิด-เปิด ประตูหน้าต่าง
       1.5 แรงคู่ควบ คือ แรงขนานต่างพวกกันคู่หนึ่งที่มีขนาดเท่ากัน แรงลัพธ์มีค่าเป็นศูนย์ และวัตถุที่ถูกแรงคู่ควบกระทำ 1 คู่กระทำ จะไม่อยู่นิ่งแต่จะเกิดแรงหมุน
       1.6 แรงดึง คือ แรงที่เกิดจากการเกร็งตัวเพื่อต่อต้านแรงกระทำของวัตถุ เป็นแรงที่เกิดในวัตถุที่ลักษณะยาวๆ เช่น เส้นเชือก เส้นลวด
       1.7 แรงสู่ศูนย์กลาง หมายถึง แรงที่มีทิศเข้าสู่ศูนย์กลางของวงกลมหรือทรงกลมอันหนึ่งๆ เสมอ
       1.8 แรงต้าน คือ แรงที่มีทิศทางต่อต้านการเคลื่อนที่หรือทิศทางตรงข้ามกับแรงที่พยายามจะทำให้วัตถุเกิดการเคลื่อนที่ เช่น แรงต้านของอากาศ แรงเสียดทาน
       1.9 แรงโน้มถ่วงของโลก คือ แรงดึงดูดที่มวลของโลกกระทำกับมวลของวัตถุ เพื่อดึงดูดวัตถุนั้นเข้าสู่ศูนย์กลางของโลก
               - น้ำหนักของวัตถุ เกิดจากความเร่งเนื่องจากความโน้มถ่วงของโลกมากกระทำต่อวัตถุ
       1.10 แรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา
               - แรงกิริยา คือ แรงที่กระทำต่อวัตถุที่จุดจุดหนึ่ง อาจเป็นแรงเพียงแรงเดียวหรือแรงลัพธ์ของแรงย่อยก็ได้
              - แรงปฏิกิริยา คือ แรงที่กระทำตอบโต้ต่อแรงกิริยาที่จุดเดียวกัน โดยมีขนาดเท่ากับแรงกิริยา แต่ทิศทางของแรงทั้งสองจะตรงข้ามกัน


****คำแนะนำของอาจารย์ผู้สอน****
             ในการนำเสนอควรพูดแบบมีลำดับขั้นตอน ให้เด็กได้ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วย เพื่อเป็นการได้ดึงประสบการณ์เดิมของเด็กออกมา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น