วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556
เวลา 8.30 - 12.20 น.
- อาจารย์ให้พับกระดาษแบ่งออกเป็น 8 แผ่น แล้วก็วาดรูปที่มุมกระดาษ โดยให้เราวาดตามจินตนาการและให้สังเกตว่าภาพที่เราวาดนั้นเคลื่อนไหวได้อย่างไร (ข้าพเจ้าวาดรูปดอกไม้) ดังภาพที่ปรากฏนี้
สมุดภาพเคลื่อนไหว (ดอกไม้)
- (อาจารย์ให้หาคำตอบว่าทำไม? เราจึงเห็นภาพเหมือนเคลื่อนไหวได้เมื่อกรีดกระดาษไวๆ)
- อาจารย์ให้ดูวีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์
-ใบไม้ล่วงมาได้อย่างไร- เพราะลม ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่ได้ รอบตัวเรามีสิ่งที่เรียกว่าอากาศ อากาศมีได้ทุกที่ รอบตัวเรามีอากาศอยู่ด้วยแต่จับต้องไม่ได้ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น แต่อากาศจะแทรกตัวอยู่ทุกๆที่ รอบๆ ตัวเรา
- บนพื้นโลกมีลมพัดตลอดเวลา บนพื้นโลกจะมีความร้อนไม่เท่ากัน อากาศร้อนบนพื้นจะดันลอยให้อากาศขึ้นมา อากาศเย็นของน้ำจึงเข้ามาแทนที่ และแต่ละที่มีความร้อนเย็นต่างกัน ลมพัดตามมาเข้าบ้านตามทิศทางอากาศซึ่งอากาศร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศเย็น อากาศจะมีการปรับสมดุลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “ลม”
ประโยชน์ของลม
อากาศที่เคลื่อนที่ย่อมเกิดพลัง เราใช้ประโยชน์จาก พลังของลมได้หลายทางเช่น ใช้หมุนกังหันลม เพื่อช่วย บดข้าวโพด ให้เป็นแป้งหรือ เพื่อการผลิต กระแสไฟฟ้า ใช้หมุนกังหันวิดน้ำ และใช้สำหรับ การแล่นเรือใบเป็นต้น
- อาจารย์ให้ออกไปPresent “ของเล่นวิทยาศาสตร์” ของแต่ละคน (ซึ่งของดิฉันนำเสนอ จรวดอวกาศ)
งานที่ได้รับมอบหมาย
อาจารย์ให้ไปศึกษาว่าทำไมเวลาเราเคลื่อนไหวอะไรเร็วๆ ภาพถึงเคลื่อนไหวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ
สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม
โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า "ภาพติดตา" (Persistence of Vision) หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นมาโดย Dr. John Ayrton Paris นักทฤษฎี และ แพทย์ ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1824
John Ayrton Paris
เนื้อหาของทฤษฎีดังกล่าว อธิบายหลัก ธรรมชาติ ของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใดภาพหนึ่งแล้ว หากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1/15 วินาที (ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงนี้)
ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของมนุษย์จะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน
Thaumatrope
ใน กรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพที่เห็นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว
ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=navagan&month=10-2008&date=03&group=5&gblog=4
ความรู้เพิ่มเติม
ความหมายและหลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว
ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น