Wellcom to My Blogger E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood By ubon suksoie NO. 31

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 7

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

***ไม่ได้เรียนเนื่องจากมีนักศึกษาขออาจารย์หยุดอ่านหนังสือสอบ อาจารย์จึงให้หยุดอ่านหนังสือสอบ




 

นิทาน เรื่อง ผักปลอดสารพิษ

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนชดเชย

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2556 
เวลา 8.30-12.20 น.

***ไม่ได้เรียนเนื่องจากไม่มีห้องจึงได้ไปเข้าอบรมการทำสื่อกับน้องปี 2

ประโยชน์ในการเข้าอบรม
1.ได้เทคนิคการทำสื่อมากมาย
2.ได้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น
3.มีสื่อที่น่าสนใจมากมาย
4.มีสื่อที่นำมาดัดแปลงเพื่อนำไปใช้ในอนาคตได้

 สื่อที่น่าสนใจ


ภาพกิจกรรมการเข้าอบรม 

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 6

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม 2556
เวลา 8.30-12.20 น. 


ไม่มีการเรียนการสอน
หยุด 
วันอาสาฬหบูชา


*หมายเหตุ เรียนชดเชยในวัน อาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2556



-หาความรู้เพิ่มเติม
                                                 วันอาสาฬหบูชา

ต ร ง กั บ วั น ขึ้ น ๑ ๕ ค่ำ เ ดื อ น ๘

วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ นับเป็นวันที่สำคัญในประวัติศาสตร์แห่งพระพุทธศาสนา คือวันที่พระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมเทศนาหรือหลักธรรมที่ทรงตรัสรู้ เป็นครั้งแรกแก่เบญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ มฤคทายวัน ตำบลอิสิปตนะ เมืองพาราณสี ในชมพูทวีปสมัยโบราณซึ่งปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศอินเดีย ด้วยพระพุทธองค์ทรงเปรียบดังผู้ทรงเป็นธรรมราชา ก็ทรงบันลือธรรมเภรียังล้อแห่งธรรมให้หมุนรุดหน้า เริ่มต้นแผ่ขยายอาณาจักรแห่งธรรม นำความร่มเย็นและความสงบสุขมาให้แก่หมู่ประชา ดังนั้น ธรรมเทศนาที่ทรงแสดงครั้งแรกจึงได้ชื่อว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แปลว่า พระสูตรแห่งการหมุนวงล้อธรรม หรือพระสูตรแห่งการแผ่ขยายธรรมจักร กล่าวคือดินแดนแห่งธรรม
   เมื่อ ๒๕๐๐ กว่าปีมาแล้วนั้นชมพูทวีปในสมัยโบราณ กำลังย่างเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความเจริญก้าวหน้า รุ่งเรืองเฟื่องฟูทุกด้านและมีคนหลายประเภททั้งชนผู้มั่งคั่งร่ำรวย นักบวชที่พัฒนาความเชื่อและ ข้อปฏิบัติทางศาสนา เพื่อให้ผู้ร่ำรวยได้ประกอบพิธกรรมแก่ตนเต็มที่ ผู้เบื่อหน่ายชีวิตที่วนเวียน ในอำนาจและโภคสมบัติที่ออกบวช หรือบางพวกก็แสวงหาคำตอบที่เป็นทางรอกพ้นด้วยการคิดปรัชญาต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่เหลือวิสัยและไม่อาจพิสูจน์ได้บ้าง พระพุทธเจ้าจึงทรงอุบัติในสภาพเช่นนี้ และดำเนินชีพเช่นนี้ด้วยแต่เมื่อทรงพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นในตอนนั้นขาดแก่น สาน ไม่เป็นประโยชน์อย่างแท้จริง แก่ตนเองและผู้อื่น จึงทรงคิดหาวิธีแก้ไขด้วยการทดลองต่าง ๆ โดยละทิ้งราชสมบัติ และอิสริยศแล้วออกผนวช บำเพ็ญตนนานถึง ๖ ปี ก็ไม่อาจพบทางแก้ได้ ต่อมาจึงได้ทางค้นพบ มัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง เมื่อทรงปฏิบัติตามมรรคานี้ก็ได้ค้นพบสัจธรรมที่นำคุณค่า แท้จริงมาสู่ชีวิต อันเรียกว่า อริยสัจ ๔ ประการ ในวันเพ็ญเดือน ๖ ก่อนพุทธศก ๔๔ ปี ที่เรียกว่า การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จากนั้นทรงงานประกาศศาสนาโดยทรงดำริหาทางที่ได้ผลดีและรวดเร็ว คือ เริ่มสอนแก่ผู้มีพื้นฐานภูมิปัญญาดีที่รู้แจ้งคำสอนได้อย่างรวดเร็วและ สามารถนำไปชี้แจงอธิบาย ให้ผู้อื่นเข้ามาได้อย่างกว้างขวาง จึงมุ่งไปพบนักบวช ๕ รูป หรือเบญจวัคคีย์ และได้แสดงธรรม เทศนาเป็นครั้งแรกในวันเพ็ญ เดือน ๘


ใ จ ค ว า ม สำ คั ญ ข อ ง ป ฐ ม เ ท ศ น า ในการแสดงแสดงปฐมเทศนาครั้งแรกของพระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักธรรมสำคัญ ๒ ประการคือ
ก. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง เป็นข้อปฏิบัติที่เป็นกลาง ๆ ถูกต้องและเหมาะสมที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายได้ มิใช่การดำเนินชีวิตที่เอียงสุด ๒ อย่าง หรืออย่างหนึ่งอย่างใด คือ
   ๑. การหมกหมุ่นในความสุขทางกาย มัวเมาในรูป รส กลิ่น เสียง รวมความเรียกว่า เป็นการหลงเพลิดเพลินหมกหมุ่นในกามสุข หรือ กามสุขัลลิกานุโยค
   ๒. การสร้างความลำบากแก่ตนดำเนินชีวิตอย่างเลื่อนลอย เช่น บำเพ็ญตบะการทรมานตน คอยพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้น การดำเนินชีวิตแบบที่ก่อความทุกข์ให้ตนเหนื่อยแรงกาย แรงสมอง แรงความคิด รวมเรียกว่า อัตตกิลมถานุโยค

ดังนั้นเพื่อละเว้นห่างจากการปฏิบัติทางสุดเหล่านี้ ต้องใช้ทางสายกลาง ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิตด้วยปัญญา โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ ๘ ประการ เรียกว่า อริยอัฏฐังคิกมัคค์ หรือ มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
     ๑. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบ คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
     ๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
     ๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
     ๔. สัมมากัมมันตะ กระทำชอบ คือ ทำการที่สุจริต
     ๕. สัมมาอาชีวะ อาชีพชอบ คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
     ๖. สัมมาวายามะ พยายามชอบ คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
     ๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
     ๘. สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน

ข. อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่
   ๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับมนุษย์ บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริงว่ามันคืออะไร ต้องยอมรับรู้กล้าสู้หน้าปัญหา กล้าเผชิญความจริง ต้องเข้าใจในสภาวะโลกว่าทุกสิ่งไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นอย่างอื่น ไม่ยึดติด
   ๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหาหรือเส้นเชือกแห่งความอยากซึ่งสัมพันธ์กับปัจจัยอื่น ๆ

   ๓. นิโรธ ได้แก่ ความดับทุกข์ เริ่มด้วยชีวิตที่อิสระ อยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
   ๔. มรรค ได้แก่ กระบวนวิธีแห้งการแก้ปัญหา อันได้แก่ มรรคมีองค์ ๘ ประการดังกล่าวข้างต้น


ผ ล จ า ก ก า ร แ ส ด ง ป ฐ ม เท ศ น า      เมื่อพระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมแล้ว ปรากฏว่าโกณฑัญญะผู้เป็นหัวหน้าเบญจวัคคีย์ได้เกิดเข้าใจธรรม เรียกว่า เกิดดวงตาแห่งธรรมหรือธรรมจักษุ บรรลุเป็นโสดาบัน จึงทูลขอบรรพชาและถือเป็นพระภิกษุสาวก รูปแรกในพระพุทธศาสนา มีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ


ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง อ า ส า ฬ ห บู ช า      “อาสาฬหบูชา” (อา-สาน-หะ-บู-ชา/อา-สาน-ละ-หะ-บู-ชา) ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ อาสาฬห (เดือน ๘ ทางจันทรคติ) กับบูชา (การบูชา) เมื่อรวมกันจึงแปลว่า การบูชาในเดือน ๘ หรือการบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในเดือน ๘ หรือเรียกให้เต็มว่า อาสาฬหบูรณมีบูชา
     โดยสรุป วันอาสาฬหบูชา แปลว่า การบูชาในวันเพ็ญ เดือน ๘ หรือ การบูชาเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สำคัญในวันเพ็ญ เดือน ๘ คือ
๑. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา
๒. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเริ่มประกาศพระศาสนา
๓. เป็นวันที่เกิดอริยสงฆ์ครั้งแรกคือการที่ท่านโกณฑัญญะรู้แจ้งเห็นธรรม เป็นพระโสดาบัน จัดเป็นอริยบุคคลท่านแรกในอริยสงฆ์
๔. เป็นวันที่เกิดพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือ การที่ท่านโกณฑัญญะขอบรรพชาและ ได้บวชเป็นพระภิกษุ หลังจากฟังปฐมเทศนาและบรรลุธรรมแล้ว
๕. เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงได้ปฐมสาวกคือ การที่ท่านโกณฑัญญะนั้น ได้บรรลุธรรม และบวชเป็นพระภิกษุ จึงเป็นสาวกรูปแรกของพระพุทธเจ้า

     เมื่อเปรียบกับวันสำคัญอื่น ๆ ในพระพุทธศาสนา บางทีเรียกวันอาสาฬหบูชา นี้ว่า วันพระสงฆ์ (คือวันที่เริ่มเกิดมีพระสงฆ์)

     พิธีกรรมที่กระทำในวันนี้ โดยทั่วไป คือ ทำบุญ ตักบาตร รักษาศีล เวียนเทียน ฟังพระธรรมเทศนา (ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร) และสวดมนต์ ดังนั้นในวันนี้จึงถือว่า พุทธศาสนิกชนควรได้รับประโยชน์ ที่เป็นสาระสำคัญจากอาสาฬหบูชา กล่าวคือ ควรทบทวนระลึกเตือนใจสำรวจตนว่า ชีวิตเราได้เจริญงอกงามขึ้นด้วยความเป็นอยู่อย่างผู้รู้เท่าทันโลกและชีวิต นี้บ้างแล้วเพียงใด เรายังดำเนินชีวิตอยู่อย่างลุ่มหลงมัวเมา หรือมีจิตใจอิสระปลอดโปร่งผ่องใสบ้างแล้วเพียงใด


เรียบเรียงจาก ความรู้เกี่ยวกับวันสำคัญไทย (เสฐียรโกเศศ และ พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) ,๒๕๔๑ : ๓๙ - ๕๙) 




 บทความวิทยาศาตร์  


วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ




วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยว กับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความ เข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามี พัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูล ไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความ เข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียน อธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อม ที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่อง อื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวง หาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่ม เติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่ สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น
Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 ) อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอด ทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้ อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการ สร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกัน เพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์

    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้

  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุ อุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความ สำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญา ของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย

 ที่มา http://dekdekkaa.blogspot.com/2011/02/blog-post_01.html

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 5

วันจันทร์ที่ 15 กรกฎาคม 2556
เวลา 8.30-12.20 น.

วันนี้อาจารย์ให้นำเสนองานสิ่งประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์ทุกคน และพร้อมให้คำแนะนำ ในการประดิษฐ์อาจารย์ได้แบ่งออกเป็น 3 ชิ้น คือ
         1.งานประดิษฐ์ของเล่น
         2.งานประดิษฐ์ที่ใช้ในมุมวิทยาศาสตร์
         3.งานประดิษฐ์สำหรับทดลอง- อาจารย์ได้เปิด VDO
- รายการ iSci ความฉลาดแบบยกกำลังสอง ทางช่อง Thaipes
  เรื่อง ลูกโป่งรับน้ำหนัก
     เหตุที่ลูกโป่งพองลมสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าที่เราคิด เป็นเพราะน้ำหนักที่วางบนแผ่นกระดานกระจายไปทั่วๆแผ่นกระดานประกอบกับแรงดันอากาศจากลูกโป่งทุกลุกที่วางไว้จึงทำให้ลุกโป่งรับได้โดยไม่แตก
  -รายการ รู้รอบโลกวิทยาศาสตร์
        เรื่องเมล็ดจะงอกไหม



วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 4

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม 2556
เวลา 8.30 - 12.20 น.




- อาจารย์ให้พับกระดาษแบ่งออกเป็น 8 แผ่น แล้วก็วาดรูปที่มุมกระดาษ โดยให้เราวาดตามจินตนาการและให้สังเกตว่าภาพที่เราวาดนั้นเคลื่อนไหวได้อย่างไร (ข้าพเจ้าวาดรูปดอกไม้) ดังภาพที่ปรากฏนี้




                                           สมุดภาพเคลื่อนไหว (ดอกไม้)




- (อาจารย์ให้หาคำตอบว่าทำไม? เราจึงเห็นภาพเหมือนเคลื่อนไหวได้เมื่อกรีดกระดาษไวๆ)

- อาจารย์ให้ดูวีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์




ความรู้ที่ได้จากการดูวีดีโอเรื่อง อากาศมหัศจรรย์


-ใบไม้ล่วงมาได้อย่างไร- เพราะลม ลมคืออากาศที่เคลื่อนที่ได้ รอบตัวเรามีสิ่งที่เรียกว่าอากาศ อากาศมีได้ทุกที่ รอบตัวเรามีอากาศอยู่ด้วยแต่จับต้องไม่ได้ อากาศไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น แต่อากาศจะแทรกตัวอยู่ทุกๆที่ รอบๆ ตัวเรา


- บนพื้นโลกมีลมพัดตลอดเวลา บนพื้นโลกจะมีความร้อนไม่เท่ากัน อากาศร้อนบนพื้นจะดันลอยให้อากาศขึ้นมา อากาศเย็นของน้ำจึงเข้ามาแทนที่ และแต่ละที่มีความร้อนเย็นต่างกัน ลมพัดตามมาเข้าบ้านตามทิศทางอากาศซึ่งอากาศร้อนจะมีน้ำหนักเบากว่าอากาศเย็น อากาศจะมีการปรับสมดุลอยู่ตลอดเวลา ซึ่งจะทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า “ลม”

ประโยชน์ของลม


  อากาศที่เคลื่อนที่ย่อมเกิดพลัง เราใช้ประโยชน์จาก พลังของลมได้หลายทางเช่น ใช้หมุนกังหันลม เพื่อช่วย บดข้าวโพด ให้เป็นแป้งหรือ เพื่อการผลิต กระแสไฟฟ้า ใช้หมุนกังหันวิดน้ำ และใช้สำหรับ การแล่นเรือใบเป็นต้น 

- อาจารย์ให้ออกไปPresent “ของเล่นวิทยาศาสตร์” ของแต่ละคน (ซึ่งของดิฉันนำเสนอ จรวดอวกาศ)

งานที่ได้รับมอบหมาย


       อาจารย์ให้ไปศึกษาว่าทำไมเวลาเราเคลื่อนไหวอะไรเร็วๆ ภาพถึงเคลื่อนไหวหรือเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นเรื่อยๆ


สิ่งที่ค้นคว้าเพิ่มเติม



  โดยอาศัยหลักการที่เรียกว่า "ภาพติดตา" (Persistence of Vision) หลักการที่อธิบายถึงการมองภาพต่อเนื่องของสายตามนุษย์ หรือการเห็นภาพติดตา คิดค้นขึ้นมาโดย Dr. John Ayrton Paris นักทฤษฎี และ แพทย์ ชาวอังกฤษ ในปี ค.ศ. 1824





John Ayrton Paris

เนื้อหาของทฤษฎีดังกล่าว อธิบายหลัก ธรรมชาติ ของสายตามนุษย์ในการมองเห็นภาพใดภาพหนึ่งแล้ว หากภาพนั้นหายไป สายตามนุษย์จะยังคงรักษาภาพไว้ที่เรติน่าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ ประมาณ 1/15 วินาที (ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล แต่ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงนี้)


ถ้าหากภายในระยะเวลาดังกล่าวมีอีกภาพแทรกเข้ามาแทนที่ สมองของมนุษย์จะทำการเชื่อมโยงสองภาพเข้าด้วยกัน และจะทำหน้าที่ดังกล่าวต่อไปเรื่อยๆ หากมีภาพต่อไปปรากฎในเวลาใกล้เคียงกัน





Thaumatrope


 ใน กรณีที่ภาพแต่ละภาพที่มองเห็น เป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึงความสอดคล้องในลักษณะของการเคลื่อนไหว เมื่อนำมาเรียงต่อกันในระยะเวลากระชั้นชิด ภาพที่เห็นจะกลายเป็นภาพเคลื่อนไหว





ภาพม้า 12 ภาพต่อวินาที

ที่มา http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=navagan&month=10-2008&date=03&group=5&gblog=4

ความรู้เพิ่มเติม
ความหมายและหลักการเกิดภาพเคลื่อนไหว
ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศ

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556