Wellcom to My Blogger E-Portfolio Subject to the science Experiences Management for Early Childhood By ubon suksoie NO. 31

วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ครั้งที่ 11


 วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม 2556

เวลา 8.30 -12.20 น.

อ.ติดธุระ เนื่องจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษมมีงาน


*****************************************************
จึงได้ถ่ายวิดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์ (ดอกไม้บาน)
ดอกไม้บาน(1)



 ดอกไม้บาน(2)


 **************************************************
การทดลอง : ดอกไม้บาน
สิ่งที่ต้องเตรียม : กระดาษสี ชามหรืออ่าง

วิธีการทำ
1.ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส


2.หลังจากนั้นพับเป็น 4 ทบเท่าๆกัน แล้ววาดรูปกลีบดอกไม้จากมุมที่พับทบเอาไว้ ใช้กรรไกรตัดออก



3.คลี่กระดาษออก จะได้เป็นอย่างที่เห็นดังรูป



4.แล้วพับปลายแต่ละกลับเข้ามาตรงกลาง รีดรอยพับให้เรียบ แล้วคลี่กลีบออก


5.ตัดกระดาษรูปวงกลมทำเกสรติดที่ที่ดอกไม้ เพื่อเวลาทำการทดลองจะได้ดูสวยงาม แล้วพับกลีบเข้าตรงกลางดอกอีกครั้ง


6.แล้วเติมน้ำในชาม วางดอกไม้ลงไปในน้ำ


การดำเนินกิจกรรมการทดลอง
ขั้นนำ
ขั้นที่1 ขั้นกำหนดปัญหา
      แนะนำอุปกรณ์โดยใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กอยากรู้ "เด็กๆคิดว่าบนโต๊ะมีอุปกรณ์อะไรบ้างคะ" หลังจากนั้นก้ถามอีกว่า"เด็กๆคิดว่าอุปกรณ์ที่เด็กๆเห็นอยู่บนโต๊ะสามารถนำ มาทำอะไรได้บ้าง" แล้วก็เริ่มทำการประกิษฐ์ดอกไม้ ตามวิธีการทำที่พิมพ์ข้างบน
ขั้นที่2 ขั้นตั้งสมมติฐาน
     เด็ๆคาดเดาคำตอบที่น่าจะเป็นไปได้ เช่น เมื่อนำดอกไม้ลงไปวางในอ่างที่ใส่น้ำจะเกิดอะไรขึ้นคะ

ขั้นสอน
ขั้นที่3 เก็บรวบรวมข้อมูล
       ให้เด็กทำการทดลองดอกไม้บาน

       เด็กลงมือทำกิจกรรมอย่างอิสระ
       เด็กสังเกตและเก็บข้อมูลของการทดลองที่ได้ทำ
       ครูคอยแนะนำและให้ความช่วยเหลือเมื่อเด็กต้องการ

ขั้นที่4 การวิเคราะห์ข้อมูล
      ครูถามคำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กคิดหาเหตุหลจากกระบวนการทดลอง ดังนี้
1.ดอกไม้ที่เด็กได้ประดิษฐ์เมื่อวางลงไปในน้ำ มีลักษณะอย่างไร
2.เด็กๆคิดว่าทำไมดอกไม้ถึงมีลักษณะอย่างที่เห็น

ขั้นสรุป
ขั้นที่5 ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป
    

        กระดาษที่ทำด้วยเยื่อไม้มีรูพรุนมาก เมื่อพับกระดาษจะทำให้รูพรุนบริเวณรอยพับถูกบีบอัดให้เล็กลง พอนำดอกไม้กระดาษไปลอยน้ำ น้ำจะซึมเข้าไปในรูพรุน ทำให้เกิดแรงผลัก  โดยเฉพาะรูพรุนในบริเวณรอยพับของดอกไม้  ดอกไม้จึงบานออก  เหมือนกับที่เซลล์ของสิ่งมีชีวิตสามารถคงรูปได้เพราะมีแรงดันนั้นอยู่
*********************************************************
คำแนะนำเพิ่มเติมของอาจารย์
        กระบวนการตอนประดิษฐ์ดอกไม้เราอาจจะให้ทำกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ ก่อน แล้วพอหลังจากนั้นก็จัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยเริ่มพูดที่ว่า จากดอกไม้ที่เด็กๆได้ประดิษฐ์เมื่อกี้นะคะ เด็ดคิดว่าจากอุปกรณ์ที่เห็นเด็กๆคิดว่าครูจะนำมาทำอะไรคะ พอเด็กตอบก็เริ่มกระบวนการทดลองได้